ขั้นตอนในการออกแบบ
CAI
ขั้นตอนการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมี
7 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่
1: ขั้นตอนการเตรียม (Preparation)
ขั้นตอนนี้เป็นการเตรียมพร้อมก่อนที่จะทำการออกแบบบทเรียน
ขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องของความชัดเจนในการกำหนดเป้าหมาย
และวัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูล การเรียนรู้เนื้อหา
เพื่อให้เกิดการสร้างหรือระดมความคิดในที่สุด ขั้นตอนการเตรียมนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากตอนหนึ่งที่ผู้ออกแบบต้องใช้เวลาให้มาก
เพราะการเตรียมพร้อมในส่วนนี้
จะทำให้ตอนต่อไปในการออกแบบเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่
2: ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design Instruction)
เป็นขั้นตอนที่ครอบคลุมถึงการทอนความคิด
การวิเคราะห์งาน แนวคิดการออกแบบขั้นแรก การประเมินและแก้ไขการออกแบบ
ขั้นตอนการออกแบบบทเรียนนี้ เป็นขั้นตอนที่กำหนดว่า บทเรียนจะออกมาในลักษณะใด
ขั้นตอนที่
3: ขั้นตอนการเขียนผังงาน (Flowchart Lesson)
ผังงานคือ
ชุดของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม
การเขียนผังงานเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ก็เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดี
จะต้องมีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ
และสามารถถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจนที่สุดในรูปของสัญลักษณ์
การเขียนผังงานจะนำเสนอลำดับขั้นตอน โครงสร้างของบทเรียน
ผังงานทำหน้าที่เสนอข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม เช่น
อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิด เป็นต้น
ขั้นตอนที่
4: ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด (Create Storyboard)
การสร้างสตอรี่บอร์ด
เป็นขั้นตอนของการเตรียมการนำเสนอข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อในรูปแบบมัลติมีเดียต่าง
ๆ ลงบนกระดาษ เพื่อให้การนำเสนอเป็นไปอย่างเหมาะสมบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ สตอรี่บอร์ดนำเสนอเนื้อหา
และลักษณะของการนำเสนอขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด รวมไปถึงการเขียน สคริปต์
ที่ผู้เรียนจะได้เห็นบนหน้าจอ ซึ่งได้แก่ เนื้อหา คำถาม ผลป้อนกลับ
และภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น ในขั้นนี้ควรที่จะมีการประเมินผล และทบทวน แก้ไข
บทเรียนจากสตอรี่บอร์ดนี้ จนกระทั่งผู้ร่วมทีมพอใจกับคุณภาพของบทเรียน
ขั้นตอนที่
5: ขั้นตอนการสร้าง / เขียนโปรแกรม (Program Lesson)
เป็นกระบวนการเปลี่ยนสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การเขียนโปรแกรมนั้นหมายถึง
การใช้โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการสร้างบทเรียน เช่น Multimedia
ToolBook ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
จะต้องรู้จักเลือกใช้โปรแกรมนี้
ผู้ใช้สามารถได้มาซึ่งงานที่ตรงกับความต้องการและลดเวลาในการสร้างได้ส่วนหนึ่ง
ขั้นตอนที่
6: ขั้นตอนการผลิตเอกสารประกอบการเรียน (Produce Supporting
Materials)
เอกสารประกอบการเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
เอกสารประกอบการเรียนอาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
คู่มือการใช้ของผู้เรียน คู่มือการใช้ของผู้สอน คู่มือสำหรับการแก้ปัญหาเทคนิคต่าง
ๆ และเอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่ว ๆ ไป ผู้เรียนและผู้สอนมีความต้องการแตกต่างกันไป
ดังนั้น คู่มือสำหรับผู้เรียน และผู้สอนจึงไม่เหมือนกัน
ขั้นตอนที่
7:
ขั้นตอนการประเมินและแก้ไขบทเรียน (Evaluation and Revise)
ในช่วงสุดท้าย
บทเรียนและเอกสารประกอบทั้งหมด ควรที่จะได้รับการประเมิน โดยเฉพาะการประเมิน
ในส่วนของการนำเสนอและการทำงานของบทเรียน ในส่วนของการนำเสนอนั้น
ผู้ที่ควรจะทำการประเมินก็คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาก่อน
ในการประเมินการทำงานของผู้ออกแบบ ควรที่จะทำการสังเกต พฤติกรรมของผู้เรียน
ในขณะที่ใช้บทเรียนหรือสัมภาษณ์ผู้เรียนหลังการใช้บทเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น